พะยูนถูกจัดให้เป็นสัตว์สงวนของไทย ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในระดับสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากมองย้อนไปตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ประชากรพะยูนในธรรมชาติแทบไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเลย โดยที่จากรายงานล่าสุดจากการบินสำรวจโดยกรมทรัพยากรและชายฝั่ง พะยูนในน่านน้ำไทยน่าจะมีอยู่เพียง 255 ตัวเท่านั้นเอง โดยที่จังหวัดตรังมีการประเมินจำนวนไว้ที่ 177 ตัว ทำให้ทะเลตรังเป็นฐานที่มั่นสำคัญของประชากรพะยูนในประเทศไทย
คุณชิน เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เรื่องของพะยูนเป็นที่สนใจขึ้นมา ซึ่งก็คือเรื่องของมาเรียม ตอนนั้นผมได้รับข้อมูล ถึงเรื่องของลูกพะยูนตัวหนึ่งที่พลัดหลงจากแม่มาเกยตื้น ทำให้มีการดูแลเลี้ยงดูอนุบาลพะยูนน้อยตัวนี้ที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง
การได้อยู่ใกล้ชิดกับพะยูน “มาเรียม” ที่ยังมีชิวิตเป็นประสบการณ์ที่พิเศษ และความตั้งใจในการทำงานของผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งทีมสัตวแพทย์และผู้คนในชุมชนเกาะลิบงก็เป็นสิ่งที่ผมประทับใจ ความทรงจำต่างๆที่นั่นไม่ว่าจะเป็นตอนที่มาเรียมว่ายมาวนเวียนมุดอยู่รอบๆขาจนถ่ายรูปไม่ได้ หรือเสียงกรนฟรี้ๆของมาเรียมหลังจากกินนมจนอิ่มแล้วนอนหลับกลางวันในอ้อมกอดของพี่เลี้ยง ตอนที่ผมอยู่ที่นั่นมันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข ได้เห็นเรื่องราวที่สวยงามของความผูกพันระหว่างสัตว์ทะเลกับมนุษย์ และผมเองดีใจที่ภาพถ่ายจากงานนั้นได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้คน แต่สุดท้ายแล้วก็อย่างที่รู้กันว่ามาเรียมตายในเวลาสี่เดือนถัดมา”
พะยูนถูกจัดให้เป็นสัตว์สงวนของไทย ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในระดับสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากมองย้อนไปตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ประชากรพะยูนในธรรมชาติแทบไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเลย โดยที่จากรายงานล่าสุดจากการบินสำรวจโดยกรมทรัพยากรและชายฝั่ง พะยูนในน่านน้ำไทยน่าจะมีอยู่เพียง 255 ตัวเท่านั้นเอง โดยที่จังหวัดตรังมีการประเมินจำนวนไว้ที่ 177 ตัว ทำให้ทะเลตรังเป็นฐานที่มั่นสำคัญของประชากรพะยูนในประเทศไทย
คุณชิน เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เรื่องของพะยูนเป็นที่สนใจขึ้นมา ซึ่งก็คือเรื่องของมาเรียม ตอนนั้นผมได้รับข้อมูล ถึงเรื่องของลูกพะยูนตัวหนึ่งที่พลัดหลงจากแม่มาเกยตื้น ทำให้มีการดูแลเลี้ยงดูอนุบาลพะยูนน้อยตัวนี้ที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง
การได้อยู่ใกล้ชิดกับพะยูน “มาเรียม” ที่ยังมีชิวิตเป็นประสบการณ์ที่พิเศษ และความตั้งใจในการทำงานของผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งทีมสัตวแพทย์และผู้คนในชุมชนเกาะลิบงก็เป็นสิ่งที่ผมประทับใจ ความทรงจำต่างๆที่นั่นไม่ว่าจะเป็นตอนที่มาเรียมว่ายมาวนเวียนมุดอยู่รอบๆขาจนถ่ายรูปไม่ได้ หรือเสียงกรนฟรี้ๆของมาเรียมหลังจากกินนมจนอิ่มแล้วนอนหลับกลางวันในอ้อมกอดของพี่เลี้ยง ตอนที่ผมอยู่ที่นั่นมันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข ได้เห็นเรื่องราวที่สวยงามของความผูกพันระหว่างสัตว์ทะเลกับมนุษย์ และผมเองดีใจที่ภาพถ่ายจากงานนั้นได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้คน แต่สุดท้ายแล้วก็อย่างที่รู้กันว่ามาเรียมตายในเวลาสี่เดือนถัดมา”
Oris x Trocadero Time ได้ร่วมกันสร้างสรรค์นาฬิการุ่นพิเศษ Payoon Limited Edition เพื่อสื่อถึงข้อความสำคัญในการอนุรักษ์พะยูนและฟื้นฟูธรรมชาติตามแนวทาง Change for the Better ของ Oris ที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นให้กับโลกของเรา
– หน้าปัดสีเขียวกราเดียนท์ได้รับแรงบันดาลใจจากสีสันของน้ำทะเลบริเวณเกาะลิบง ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่สำคัญของประชากรพะยูนเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย
– ขอบตัวเรือนแบบนูนสวยงามซึ่งสะท้อนถึงสีเทาของผิวพะยูน
– ฝาหลังสลักรูปพะยูนสองตัวแสดงให้เห็นถึงสายสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันเป็นฝูง และเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนประชากรพะยูนให้มากขึ้น โดยเฉพาะในน่านน้ำทะเลไทย ผลิตเพียง 250 เรือน และมีเพียง 100 เรือนในประเทศไทย เท่านั้น
สำหรับรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายนาฬิการุ่นพิเศษนี้จะนำไปสนับสนุนการทำงานของกลุ่มผู้พิทักษ์ดุหยง กลุ่มอาสาสมัครชุมชนของเกาะลิบงในการสำรวจติดตามดูแลแหล่งหญ้าทะเล และเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจตราพื้นที่และช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นในบริเวณเกาะลิบง จ.ตรัง